จดหมายข่าว ฉบับที่ 1 (ฉบับปฐมฤกษ์) ประจำเดือน ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2558
พฤษภาคม 2, 2016โครงการวางระบบและกลไกการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระดับหลักสูตร รุ่นที่ 1
พฤษภาคม 20, 2016เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2559 รองศาสตราจารย์ ดร.อุษาพร เสวกวิ ผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพการศึกษา และ นางสาวปิยวรรณ สนธิโสมพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพการศึกษา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยและเสนอแนะตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ณ โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพฯ
นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เป็นประธานการเปิดประชุมฯ กล่าวว่าสถาบันจัดอันดับต่างๆ หลายสถาบัน ได้ดำเนินการจัดอันดับและประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยตัวชี้วัดต่างๆ มาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาซึ่งตัวชี้วัดที่สถาบันจัดอันดับต่างๆ นำมาใช้นั้น เป็นตัวชี้วัดในระดับสากลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวชี้วัดที่ส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล แต่อย่างไรก็ตาม มีเพียงมหาวิทยาลัยของไทยบางกลุ่มเท่านั้นที่มีศักยภาพในการใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อการก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในระดับโลก ขณะที่กลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพในการผลักดันให้มีความเป็นเลิศ (potential) และกลุ่มมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง เช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อาจจำเป็นต้องพิจารณาตัวชี้วัดอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมกับบริบทการพัฒนาของมหาวิทยาลัยแต่ละกลุ่ม ต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยและเสนอแนะ ตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศในครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญในการได้มาซึ่งตัวชี้วัดที่ เหมาะสมกับบริบทของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและ ขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเคียงในระดับสากล อันจะ ส่งผลให้ผลการจัดอันดับของสถาบันจัดอันดับต่างๆ อยู่ในลำดับที่ดียิ่งขึ้น เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนท้าย
ซึ่งการจัดการประชุมฯ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เชิญ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนประมาณ 60 ท่าน เข้าร่วมระดมความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศผลกระทบ(impact) ของตัวชี้วัดของสถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในระดับสูงและแสวงหาแนวทางในการการกำหนด ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยของไทยต่อไป